หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อคิดคำคม ขงเบ้ง




ขงเบ้ง หรือ จูเก๋อเหลียง (ค.ศ. 181—234) นักการเมืองและนักวางแผนในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น ของประเทศจีน ซึ่งหากนับจากประวัติศาสตร์ที่เป็นพงศาวดารที่แท้จริงแล้ว ขงเบ้งมีชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากสิ้นราชวงศ์ฮั่น แต่มีความจงรักภักดีกับราชวงศ์ฮั่นมาก จึงยอมช่วยเหลือเล่าปี่ ซึ่งอ้างตนว่าเป็นเชื้อสายตงสานเชงอ๋องเพื่อกอบกู้้ราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งเป็นที่รู้จักในฐานะ เสนาธิการกองทัพ นักการเมือง วิศวกร นักวิชาการ และยังได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดค้นซาลาเปา
ตั้งแต่สมัยโบราณ กุนซือที่ปราดเปรื่องมักจะมีบทบาทสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศ กุนซือที่น่าจดจำเทียบเคียงได้กับจูกัดเหลียงขงเบ้งมีดังนี้ หลี่ซือ กุนซือ คู่บารมีของจิ๋นซีฮ่องเต้ เตียวเหลียง กุนซือ ของเล่าปัง มีบทบาทในการสถาปนาราชวงศ์ฮั่นของฮั่นโกโจ ฮ่องเต้
ชื่อ
ชื่อแต่เกิดคือ จูกัดเหลียง (จีนตัวเต็ม: 諸葛亮, จีนตัวย่อ: 诸葛亮, พินอิน: Zhūge Liàng) ชื่อว่า Liàng และนามสกุล Zhūge
ชื่อที่ผู้อื่นเรียกด้วยความเคารพ ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng)
นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่น เช่น มังกรซุ่ม (臥龍先生) หรือ (伏龍)
ขงเบ้งในวรรณกรรม
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งถูกยกย่องว่าหยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า " ฮกหลง " หมายถึง มังกรซุ่ม หรือ มังกรหลับ จากคำแนะนำของชีซีทำให้เล่าปี่ต้องมาเชิญด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา มีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังเล่าปี่ตาย ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยน ให้ดูแลแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮ ยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง มีคู่ปรับคือ สุมาอี้
ขงเบ้ง (Zhuge Liang -(Kong Ming)) (ค.ศ. 181-234) มีชื่อจริงว่า จูเก๋อเหลียง โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าxxxนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น
ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั้งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย

ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง

ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนxxxนเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า

ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง



สุดยอดผลงานดีเด่นของขงเบ้ง ได้แก่

1.กลเผาทุ่งพกบ๋อง ทำลายทัพของแฮหัวตุ้นที่มาโจมตี

2.เบื้องหลังความสำเร็จของยุทธนาการที่เซ็กเพ้ก ทำลายทัพกำลังพลเป็นล้านของโจโฉหมดสิ้น ขึ้นแท่นเรียกลม อ่านโองการบัญชาฟ้าดิน

3.อุบายยึดเกงจิ๋วและหัวเมืองสำคัญทั้งหลายโดยใช้อุบายยืมกำลังจากง่อก๊กเข้าตีลวงแล้วจึงส่งกำลังเข้ายึดโดยไม่ต้องลงทุน

4.แก้อุบายจิวยี่จนเล่าปี่ได้ซุนฮูหยิน

5.อุบายลวงจิวยี่ มันสมองสำคัญของง่อก๊กจนกระอักเลือดตาย

6.อุบายให้เตียวสงมอบแผนที่เสฉวน

7.เคลือนทัพเข้ายืดแคว้นเสฉวนของเล่าเจี้ยงเพื่อสร้างสถานภาพสามก๊ก

8.เจริญสัมพันธไมตรีกับง่อก๊กหลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ซึ่งก่อนหน้านี้เล่าปี่ได้เคลื่อนทัพหลวงบุกรุกง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู ซึ่งในครั้งนั้น ทำให้พระเจ้าเล่าปี่สูญเสียแม่ทัพเตียวหุย และยังถูกลกซุนเผาทัพหลวงจนมอดใหม่หมดสิ้น

9.สยบเบ้งเฮ็ก ทำให้ทางใต้สงบ โดยไม่ต้องกังวลกับการบุกทางเหนือฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น

9.ออกอุบายปล่อยข่าวลือทำให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อไม่ให้ต่อกรกับจ๊กก๊กได้

10.บุกกิสานครั้งที่หนึ่ง สามารถเคลื่อนทัพบุกยึดเทียนซุยและอันติ้งได้ด้วยอุบาย พร้อมทั้งได้ยอดทหารอย่างเกียงอุยมาเป็นขุนศึกคู่ใจด้วย

11.ในยามคับขันครั้งหนึ่ง หลังจากเสียเกเต๋ง ขงเบ้งต้องถอยทัพใหญ่กลับเซงโต๋ แต่ต้องขนถ่ายเสบียงกลับจากเมืองเล็กๆที่เสเสีย ภายในเมืองเสเสียมีแต่เสบียงกับทหารเพียงแค่สองพันห้าร้อยคน ในขณะที่กองทัพสุมาอี้มีกองทัพเรือนแสนยกมาประชิดกำแพงเมือง ขงเบ้งทำกลลวง เปิดประตูเมือง ลดธงทิวลง และขึ้นเล่นพินจีนบนกำแพงเมือง ลวงทัพสุมาอี้ ทำให้สุมาอี้ลังเลที่จะยกทัพบุกเข้าในเมืองเพราะกลัวขงเบ้งซุ่มทัพโจมตี ครั้งนี้เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของขงเบ้งในการแก้ปัญหายามคับขันถึงชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยมถึงแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ตาม

12.ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพลเตียวคับยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว

13.สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5

14.ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ สุมาสู และสุมาเจียว บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาพินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้

16.ก่อนขงเบ้งสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัยโดยให้นำหุ่นไม้ของขงเบ้งขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในตรงนี้ บางฉบับกล่าวว่าขงเบ้งให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้เกียงอุยเป็นทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็นทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิดว่าขงเบ้งยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของขงเบ้ง และยังให้เตียวหงี กับม้าต้ายทำกลลวงกบฏอุยเอี๋ยนจนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง



ข้อคิดคำคมอันที่หนึ่ง จาก ขงเบ้ง

ถ้าเป็นกษัตริย์แล้ว ไม่โลภ ก็เป็นกษัตริย์ ที่ดีไม่ได้

ข้อคิดคำคมอันที่สอง จาก ขงเบ้ง
เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร 

ข้อคิดคำคมอันที่สาม จาก ขงเบ้ง
ถ้าเป็นนักบวชแล้ว โลภ ก็เป็นนักบวช ที่ดีไม่ได้

ข้อคิดคำคมอันที่สอง จาก ขงเบ้ง
คนฉลาดปราดเปรื่อง เขานั่งนิ่งสงวนคม 

ข้อคิดคำคมอันที่สี่ จาก ขงเบ้ง
เมื่อเสียหลักก็ต้องหลบอย่างฉลาด เมื่อพลั้งพลาดต้องรู้หลีกใส่ปีกหาง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆทำ
 ค่อยคลำทาง จึงจะย่างสู่จุดหมายเมื่อปลายมือ 

ข้อคิดคำคมอันที่ห้า จาก ขงเบ้ง
เมื่อใครสักคนหนึ่ง ทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา เพราะถ้าท่านเป็นเขา
และตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้ 

ข้อคิดคำคมอันที่หก จาก ขงเบ้ง
ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย 

ข้อคิดคำคมอันที่เจ็ด จาก ขงเบ้ง
เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ" เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" 
หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้" เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี 

ข้อคิดคำคมอันที่แปด จาก ขงเบ้ง
ยามเรืองรุ่งพุ่งเปรี้ยงดุจเสียงฟ้า แม้เทวายังสยบหลบทางให้ จะหยิบดาวเดือนชมก็สมใจ คงร้องไห้วันหนึ่งแน่ คราวแพ้มี 

ข้อคิดคำคมอันที่เก้า จาก ขงเบ้ง
อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบ จาก ขงเบ้ง
เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ
 มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน" 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบเอ็ด จาก ขงเบ้ง
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบสอง จาก ขงเบ้ง
การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น ผู้ปกครองระดับธรรมดา
 ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่ 
ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่ 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบสาม จาก ขงเบ้ง
เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือคนยังมียอดคน 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบสี่ จาก ขงเบ้ง
อย่าไล่สุนัขให้จนตรอก อย่าต้อนคนให้จนมุม 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบห้า จาก ขงเบ้ง
ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบหก จาก ขงเบ้ง
น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำฉันใด เราก็กลายเป็นคนฉลาดในช่วงเวลาลำบากฉันนั้น 

ข้อคิดคำคมอันที่สิบเจ็ด จาก ขงเบ้ง
มียอดขุนพล มีคนฉลาด แต่หากชิงผลประโยชน์ก่อกวนกันเอง ย่อมมิอาจครองแผ่นดิน

ข้อคิดคำคมอันที่สิบแปด จาก ขงเบ้ง
ฉลาดแต่แต่เข้าข้างคนผิด ชีวิตก็บัดซบ ฉลาดแต่เข้ากับใครไม่ได้ ก็ไร้ประโยชน์ ฉลาดแต่ขาดคุณธรรม ไม่ทำให้เจริญ